UNIT 2 : ความถนัดทางรัฐศาสตร์
(เก็บ POINT วิชาเฉพาะรัฐศาสตร์ และข้อสอบเรียงความทางรัฐศาสตร์)
keyword : ความถนัดทางรัฐศาสตร์ , วิชาเฉพาะทางรัฐศาสตร์ , การเมืองการปกครอง , การบริหารรัฐกิจ , รัฐประศาสนศาสตร์ , ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
สำหรับการจัดการเรียนการสอนภายในโรงเรียน (@wr.ac.th) เท่านั้น
Learning unit 2 : ความถนัด (วิชาเฉพาะ) ทางรัฐศาสตร์
Learning unit 2 : ความถนัด (วิชาเฉพาะ) ทางรัฐศาสตร์
เมื่อนักเรียนเรียนจบหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 นักเรียนสามารถ
มีความรู้ ความเข้าใจในหลักวิชารัฐศาสตร์เบื้องต้น หลักรัฐศาสตรฺเฉพาะแขนงวิชาการเมืองการปกครอง แขนงวิชาการบริหารรัฐกิจ-รัฐประศาสนศาสตร์ และแขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่จำเป็น สามารถนำความรู้ไปใช้ในการสอบเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปความรู้เกี่ยวกับหลักรัฐศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ในการตีโจทย์วิชาเฉพาะทางรัฐศาสตร์ รวมไปถึงการเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์
สามารถนำความรู้เกี่ยวกับรัฐศาสตร์ไปใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
เนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ใช้เวลา (เรียน 18 + สอบ 2) ชั่วโมงประกอบด้วย 4 หัวข้อสำคัญ ได้แก่
เก็บ Point รัฐศาสตร์
ตะลุยข้อสอบรัฐศาสตร์จากสนามสอบจริง
ALL POL SCI KNOCKOUT
การเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์
แล๊คเซอร์สอนฉบับออนไลน์ (เผื่อใครตามไม่ทันดูได้ที่นี้ คลิกเลย)
(0) แบบทดสอบก่อนเรียน Learning unit 2 : ความถนัด (วิชาเฉพาะ) ทางรัฐศาสตร์ เข้าสอบ คลิก รหัสผ่าน : ศูนย์สิบตัว
(1) เก็บ Point รัฐศาสตร์
เอกสารประกอบการเรียน TOPIC (1) : เก็บ Point รัฐศาสตร์
EP 1 เข้าใจในหลักรัฐศาสตร์ ม.ปลาย คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
EP 2 EP.02 คุยเฟื่องเรื่องการเมืองไทย คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
แบบทดสอบหลังเรียน TOPIC (2) : เก็บ Point รัฐศาสตร์ คลิกเพื่อทำแบบทดสอบ
(2) ตะลุยข้อสอบรัฐศาสตร์จากสนามสอบจริง
เอกสารประกอบการเรียน TOPIC (2) : ตะลุยข้อสอบรัฐศาสตร์จากสนามสอบจริง
EP 1 เตรียมพร้อมพิชิต A-Level SOC [รัฐศาสตร์ 1] คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
EP 2 เตรียมพร้อมพิชิต A-Level SOC [เอกสารเสริม 2]
แบบทดสอบหลังเรียน TOPIC (2) : ตะลุยข้อสอบรัฐศาสตร์จากสนามสอบจริง
(3) ALL POL SCI KNOCKOUT
เอกสารประกอบการเรียน TOPIC (3) : ALL POL SCI KNOCKOUT
EP 1 ALL POL SCI KNOCKOUT รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับรัฐศาสตร์ทั้งสามแขนง คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
PowerPoint 365 ประกอบการสอน หัวข้อ เก็บ Point รัฐศาสตร์ (สามแขนงหลัก PS - PA - IR) สำหรับผู้ที่จดแล๊คเชอร์ไม่ทัน คลิกเพื่อเปิดเอกสารออนไลน์
EP 2 long Tum DO ทดลองข้อสอบวิชาความถนัดทางรัฐศาสตร์ [สอนเสริมเฉพาะผู้มุ่งสอบเข้าคณะรัฐศาสตร์ทั้ง 3 แขนง]
แขนง POL คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
แขนง PA คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
แขนง IR คลิกเพื่อเปิดเอกสาร
ข้อสอบวิชาความถนัดทางรัฐศาสตร์ รวม 3 สาขา ไฟล์ที่ 1 ไฟล์ที่ 2 ไฟล์ที่ 3
การเขียนตอบ "เรียงความ" จริงๆแล้วไม่ยาก ถ้าทำตามขั้นตอนนี้คือ
1.) คิดประโยคใจความสำคัญ พร้อมเหตุผล 3 ข้อ (ทำเป็น mapping 3 เส้นก็ได้)
2.) เอาประโยคดังกล่าวไปไว้ในส่วนท้ายของย่อหน้าแรก เพื่อเน้นย้ำว่านี่คือประเด็นหลักที่เราจะเขียน
3.) แยก 3 เหตุผล ออกเป็น 3 ย่อหน้าถัดไป แต่ละย่อหน้าไ่ม่ควรเกิน 5-7 บรรทัด
4.) ตอนแรกของส่วนสรุป ให้ทำการเขียนใจความสำคัญพร้อมเหตุผลทั้ง 3 อีกครั้งในประโยคแรกของส่วนสรุป เพื่อเน้นย้ำว่าเราได้กล่่าวไว้ทั้งหมดแล้ว
5.) ตอนท้ายของส่วนสรุป ให้ปิดโดยใช้ "ข้อเสนอแนะ" "คาดการณ์" หรือ "ตั้งคำถามทิ้งท้าย"
แค่นี้เราก็จะได้เรียงความ 2 หน้าที่มีความชัดเจนและโครงสร้างที่เป็นระบบทำให้เรียงความมีประเด็ฯหลักและไม่ออกทะเลครับ
https://www.facebook.com/131061657003662/posts/134671366642691/
www.slideshare.net/weerawong9/how-to-write-an-academic-essay-71898345/1 คลิกเพื่อเปิดหลักการเขียนบทความวิชาการทางรัฐศาสตร์ How to write an academic essay
(4) การเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์
กระดาษเขียนเรียงความแบบเส้น แบบกว้างเส้นแดงสำหรับสอบ
คู่มือคำแนะนำการเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์
Political science essay writing
หลักการเขียนตอบข้อสอบเรียงความ คลิกเพื่อดาวน์โหลดหนังสือ
ตัวอย่างหัวข้อการเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์ (คลิกเพื่อดูสิ่งที่ซ่อน)
สาขาการเมืองการปกครอง
ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับรัฐธรรมนูญ 2560 ที่สามารถเปิดช่องทางให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกได้ และ การมีนายกคนนอกเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ จงอภิปราย
ให้เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียระหว่าง ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม กับ ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม พร้อมทั้งอภิปรายว่าระบบเศรษฐกิจแบบใดที่เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด จงอภิปราย
“ประเทศที่มีรัฐธรรมนูญคือประเทศที่เป็นประชาธิปไตย” ท่านเห็นด้วยกับคำกล่าวข้างต้นหรือไม่ จงอภิปราย
“องค์กรอิสระ”มีความสำคัญอย่างไร และมีความจำเป็นหรือไม่สำหรับประเทศไทย จงอภิปราย
เหตุการณ์ใดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มีอิทธิพลและส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบการเมืองไทยในปัจจุบัน
การต่อสู้ของภาคประชาชนโดย กปปส.ช่วงปี พ.ศ.2556 - 2557 กับการต่อสู้โดยนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ถ้าท่านสามารถกลับไปแก้ไขประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้ท่านจะเลือกกลับไปแก้ไขช่วงเวลาใดเพื่อที่จะทำให้สังคมไทยมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ มีวิธีการทำอย่างไร จงอภิปราย
"ประชาธิปไตยคืออะไร.." จงอภิปรายมาพอสังเขป
ท่านคิดว่า มายาคติหรือวาทกรรมใดที่ส่งผลต่อการขัดขวางการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไทยมากที่สุด จงอภิปราย
ท่านคิดว่าหากเค้าโครงการเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้รับการนำมาใช้ ประเทศไทยจะเป็นเช่นไร
"การปกครองระบอบประชาธิปไตย" ดีที่สุดในโลกจริงหรือ ? จงอภิปราย
สาขาการบริหารรัฐกิจ
ให้เปรียบเทียบระหว่าง กรุงเทพ กับ เชียงใหม่ ว่ามีความแตกต่างหรือไม่ในเชิงโครงสร้างบริหารราชการแผ่นดิน จงอภิปราย
ในทัศนะของท่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดควรมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ จงอภิปราย
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คืออะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร จงอภิปราย
การแก้ปัญหาคอรัปชั่นที่ดีต้องแก้ไขปัญหาด้วยการเอาคนดีมาปกครอง ท่านเห็นด้วยหรือไม่
ท่านคิดว่าการดำเนินงานในรูปแบบธุรกิจของเอกชนสามรถนำมาปรับปรุงเพื่อให้นำมาใช้กับการดำเนินงานของภาครัฐของไทยในปัจจุบันได้หรือไม่ จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน
เมื่อรัฐบาล คสช. เข้ามาบริหารประเทศ ท่านคิดว่าประเทศไทยมีสภาพการเมือง เศษรฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรจงอภิปราย
ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่า “การกระจายอำนาจเท่ากับการส่งเสริมประชาธิปไตย” จงอภิปราย
ระบบราชการที่ดี ควรมีลักษณะเช่นไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน
ท่านคิดว่านโยบายประชานิยมของรัฐบาลทักษิณ กับ นโยบายประชารัฐของรัฐบาลประยุทธ์มีความเหมือนหรือความแตกต่างกันอย่างไรจงอภิปรายพร้อมยกตัวอย่างประกอบมาพอสังเขป
การบริหารรัฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันมีความล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จ จงอภิปราย
สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
รัฐชาติสมัยใหม่ (Modern State) คืออะไร จงอธิบาย
คำกล่าวว่า “รัฐเป็นตัวแสดงสำคัญในเวทีระหว่างประเทศแต่ไม่ใช่ตัวแสดงเดียว” หมายความว่าอย่างไร
ปัจจัยของการกำหนดนโยบายต่างประเทศคืออะไร และในกรณีประเทสไทย ปัจจัยใดสำคัญที่สุดในความคิดของท่าน
ประเทศมหาอำนาจคืออะไร และในประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางการทูตของประเทศไทยต่อประเทศเหล่านี้มีลักษณะเช่นไร
เครื่องมือทางการทูต คืออะไร ปัจจุบันนี้เครื่องมือใดได้รับความนิยมมากที่สุดในความเห็นของท่าน
ปัจจัยใดที่ส่งผลให้รัฐเกิดการรวมตัวกัน เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐ หรือองค์กรระหว่างรัฐ
การก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจของสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นได้อย่างไร
ในปัจจุบันสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีนมีแนวโน้มจะดำเนินรอยตามสหรัฐอเมริกา ในการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกได้หรือไม่ และการก้าวขึ้นสู่ความเป็นมหาอำนาจของจีนจะเหมือนหรือต่างกับบริบทของสหรัฐอเมริกาอย่างไร
องค์การสหประชาชาติคืออะไร ในปัจจุบันนี้ ยังคงมีบทบาทสำคัญในเวทีระหว่างประเทศหรือไม่
การขยายตัวของลัทธิก่อการร้าย จะส่งผลเช่นใดต่อรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน
ท่านคิดว่าสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสถานการณ์อย่างไร และบทบาทของประชาคมอาเซียนจะช่วยลดปัญหาหรือส่งเสริมให้ดีขึ้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
กรณีการสังหารนักข่าวชาวตุรกี นายจามาล คาชูจกี จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของตัวแสดงที่เกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร
สงครามเบ็ดเสร็จ (Total War) คืออะไร ท่านคิดว่าอนาคต จะมีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่
กระแสการก้าวขึ้นมาของพรรคการเมืองฝ่ายขวา เกี่ยวข้องกับโลกาภิวัตน์ (Globalization) หรือไม่ อย่างไร
แนวทางการเมืองแบบเสรีนิยม (Liberalism) และอนุรักษ์นิยม (Conservative) พบในรัฐใดในปัจจุบันหรือไม่ ทั้งสองอุดมการณ์มีลักษณะทางการระหว่างประเทศอย่างไร
ท่านคิดว่าในอนาคตจะมีการก่อกำเนิดองค์กรเหนือชาติได้หรือไม่ จงอธิบาย
ท่านคิดว่ากลไกของกฎหมายระหว่างประเทศ สามารถมีผลจริงในทางปฎิบัติหรือไม่
ท่านคิดว่านโยบายต่างประเทศของไทยในปัจจุบัน สอดคล้องกับสภาวะความเป็นจริงระหว่างประเทศอย่างไร
กลุ่มโจทย์พิเศษ - สามสาขา
รัสเซียเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก เมื่อเกิดสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ทำให้หลายประเทศพยายามที่จะคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับรัสเซียเพื่อให้ยุติการจู่โจมยูเครน จากสถานการณ์ดังกล่าวไทยควรแสดงท่าทีอย่างไรต่อสถานการณ์ดังกล่าวนี้ จงอภิปราย
ท่านคิดว่าวงจรอุบาทของการเมืองไทย ที่ทำให้ประเทศตกอยู่ในกับดักประเทศกำลังพัฒนามากว่า 30 ปี มีสาเหตุมาจากอะไรและหากท่านเป็นเพียงประชาชนคนธรรมดาท่านจะทำอย่างไรให้ประเทศหลุดออกจากกับดักนี้ จงอภิปรายพร้อมเหตุผลประกอบ
หากนักเรียนสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นหนึ่งใน 12 เทพเจ้ากรีกและเทพธิดากรีกแห่งเขาโอลิมปัส นักเรียนจะเลือกเป็นเทพเจ้าองค์ใด เมื่อได้เป็นเทพเจ้าตามที่เลือกจะใช้พลังวิเศษช่วยเหลือประเทศไทยอย่างไรบ้างพร้อมอธิบายวิธีการช่วยเหลือ
ในความคิดของท่าน นายกรัฐมนตรีในยุค Digital politics ควรมีลักษณะอย่างไร อ้างอิงจากบริบทการเมืองไทยในปัจจุบัน
การรู้จักหน้าที่ คือ การละทิ้งเสรีภาพของตนเองหรือไม่
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมถือเป็นอุปสรรคต่อเอกภาพของมนุษยชาติหรือไม่
ปัจจุบันกลุ่มความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ ได้ถูกยอมรับและพูดถึงมากขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยรัฐบาลไทยได้มีการพิจารณานำร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมขึ้นในปี พ.ศ.2563 ท่านเห็นด้วยกับการร่างกฎหมายดังกล่าว หรือไม่อย่างไร จงอภิปราย
ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนระบบการเลือกตั้งจากระบบจัดสรรปันส่วน (Mixed Member Proportional : MMP) เป็นระบบเลือกตั้งแบบผสม (Mixed Member Majoritarian : MMM) ทั้ง 2 ระบบนี้มีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร และท่านเห็นด้วยกับระบบใดมากที่สุด
ในฐานะที่เป็นนักเรียน ท่านคิดว่าปัญหาการศึกษาไทยในยุคปัจจุบันคืออะไร ถ้าหากมีโอกาสได้พบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการท่านจะเสนอวิธีแก้ปัญหานั้นอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
รายละเอียดของการทดสอบการเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์ (กดที่นี้เพื่อดูข้อความที่ถูกซ่อน)
การเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการฝึกหัดให้นักเรียนในแผนการเรียนศิลป์นิติ - รัฐศาสตร์ทุกคน ได้เขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์ โดยปรับประยุกต์จากการเขียนเรียงความในวิชาปกติ ได้แก่วิชาภาษาไทย บวกกับหลักการทางวิชาการของรัฐศาสตร์ เขียนเป็นเรียงความออกมา ทั้งนี้การเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์ นอกจากจะเป็นประโยชน์โดยตรงกับผู้ที่จะสอบเข้าเรียนต่อในคณะรัฐศาสตร์ ยังเป็นประโยชน์ต่อตัวนักเรียนในการฝึกฝนและฝึกทักษะ กระบวนการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลออกมา และสามารถปรับประยุกต์ไปใช้ในการเรียนในชั้นที่สูงขึ้นต่อไป
การทดสอบการเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์ กำหนดให้นักเรียนเขียนด้วยลายมือของตนเอง (เน้นย้ำ) ตามหัวข้อที่นักเรียนได้รับจากการสุ่ม จำนวน 2 หน้ากระดาษ A4 รายละเอียดและหลักเกณฑ์การเขียนเรียงความ เป็นไปตามคู่มือทั้ง 2 เล่มที่ได้กำหนดไว้
คู่มือคำแนะนำการเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์
Political science essay writing คลิกเพื่อดาวน์โหลดหนังสือฉบับย่อ
หลักการเขียนตอบข้อสอบเรียงความ คลิกเพื่อดาวน์โหลดหนังสือ
เงื่อนไขพิเศษที่กำหนด (สำหรับเรื่องการพิมพ์ จะไปตกลงในชั้นเรียน)
กำหนดให้เขียนชื่อ นามสกุล ชั้น เลขที่ ไว้ที่มุมกระดาษด้านบนขวามือเท่านั้น
กำหนดให้ใช้ปากกาน้ำเงินในการเขียน หรือพิมพ์ด้วยอักษรขนาด 16pt
ลายมือในการเขียน เน้นอ่านออก และอ่านง่าย กรณีเขียนอ่านไม่ออก เขียนหวัด เขียนยึกยือ เขียนชิด เขียนไม่ยกปากกา จะตัดคะแนนเป็นจุดไปตามสมควร หากอ่านไม่ออกเกิน 1 ใน 3 ของเรียงความทั้งหมด จะปรับตกเป็น 0 คะแนน
กรณีการพิมพ์เน้นแบบฟอร์มให้มีความเรียบร้อย อ่านง่าย และเป็นไปตามการจัดรูปแบบ หากไม่เรียบร้อยเกิน 1 ใน 3 จะปรับตกเป็น 0 คะแนน
กำหนดให้ประเด็นหรือข้อความใดที่เป็นใจความสำคัญ ให้ขีดเส้นใต้ด้วยปากกาสีแดง จำนวน 2 เส้น
กรณีเขียนผิด ให้ใช้ปากกาสีแดงขีดฆ่า 1 เส้น เป็นเส้นตรง (ตัวอย่าง - เขียนผิด ) และเขียนข้อความต่อได้เลย ทั้งนี้ ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด มาร์กเกอร์ลบคำผิดเด็ดขาด
การส่งเรียงความและกำหนดการส่ง
กำหนดให้จับหมายเลข (จับแล้วในชั่วโมงวันที่ 23 มิถุนายน 2566) และแบ่งหัวข้อตามที่ได้รับมอบหมายในการเขียน คนละ 1 หัวข้อ
กำหนดให้นักเรียนแสกนเรียงความเป็นไฟล์ PDF ที่สามารถอ่านได้ชัดเจน จำนวน 1 ไฟล์
กำหนดส่งตั้งแต่บัดนี้ ถึง วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2565 เวลา 23.59 น. เวลามาตรฐานประเทศไทย (ยึดเวลาตาม Google froms)
นักเรียนที่ส่งงานเขียนช้ากว่ากำหนด จะถูกหักคะแนนลงตามสัดส่วนของเวลาที่เกินไป ทั้งนี้ หากมีเหตุสุดวิสัย ให้แจ้งครูผู้สอนพร้อมหลักฐานภายใน 48 ชั่วโมงนับแต่เวลาสิ้นสุดการส่งงาน มิเช่นนั้นจะถือว่านักเรียนสละสิทธิ์ในการอุธรณ์ผลการพิจารณา
วีดีโอการสอนย้อนหลัง Learning unit 2 : ความถนัด (วิชาเฉพาะ) ทางรัฐศาสตร์
ตัวอย่างการถอดประเด็นตามหัวข้อการเขียนเรียงความทางรัฐศาสตร์
เราสามารถหลุดพ้นจากกาลเวลาได้หรือไม่ = เราไม่จำเป็นต้องหลุดพ้นกาลเวลา เพราะกาลเวลาไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงคำจำกัดความของคนเราที่ไม่สามารถมีชีวิตไปจนชั่วนิรันตร์ได้
เพราะเหตุใดเราถึงต้องอธิบายผลงานศิลปะ ตอบ =ในมุมมองของอธิบายผลงานผู้อื่น เป็นการตอบคำถามที่เจ้าของผลงานนั้นได้ตั้งเอาไว้ผ่านผลงานของเขา ในมุมมองของเจ้าของผลงาน คงเพราะในโลกแห่งความเป็นจริง ถ้าจะสร้างคุณค่าผลงานศิลปะให้แก่่ผู้อื่น ก็ต้องอธิบาย ถ้าไม่เก่งเรื่องการใส่จิตวิญญาณในรูปแบบคำอธิบายลงในผลงานได้ ก็ต้องอธิบายเอง
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมถือเป็นอุปสรรคต่อเอกภาพของมนุษยชาติหรือไม่ ตอบ = เป็นอุปสรรคที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่อให้ไม่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ก็มีความหลากหลายทางความคิดส่วนบุคคลมาเป็นอุปสรรคอยู่ดี
การรู้จักหน้าที่ คือ การละทิ้งเสรีภาพของตนเองหรือไม่ ตอบ = หน้าที่ที่ขัดกับเสรีภาพของตัวเองและผู้อื่นไปพร้อมๆกัน ไม่เรียกว่าหน้าที่ หน้าที่ที่ขัดกับเสรีภาพของตัวเอง เรียกว่าความรับผิดชอบ ไม่ได้เรียกหน้าที่ ความรับผิดชอบอยู่เหนือเสรีภาพของตัวเอง แต่ไม่ทำลายเสรีภาพผู้อื่น
ตัวอย่างการร่าง
เราหลุดพ้นจากกาลเวลาได้ หากรู้สึกถึงจิตและการกระทำ อดีต ปัจจุบัน อนาคต จะหายไป
การอธิบายศิลปะ มีเพื่อการเห็นการประกอบกันของเหตุปัจจัยทั้งหลาย ที่รวมขึ้นมาเป็นงานชิ้นนั้ย และเรียนรู้มัน ทั้งจากมุมผู้ถ่ายทอด และจากตัวเราเอง
เป็นทั้งประโยชน์และอุปสรรคอาจทำให้เกิดความไม่ลงรอย แต่ก็ทำให้เกิดการถก ถาม เรียนรู้และการกล้าจะเข้าใจทั้งที่ไม่เข้าใจ
ใช่ และไม่ใช่ เพราะมีทั้งหน้าที่ส่วนตนและหน้าที่ส่วนรวมเพราะเราอยู่เพื่อทุกสิ่งที่ไม่ใช่เรา = โลก , โลก = เรา
ข้อสอบปลายภาคเรียนที่ 1/2566 วิชาความถนัดทางนิติ-รัฐศาสตร์
คลิกที่รูปเพื่อเปิดดูข้อสอบ
หนังสือประกอบการติว : คณะรัฐศาสตร์ (3 สาขา) ปี 2566 (WR.AC.TH Only)
โครงการสิงห์สาสพาติวครั้งที่ 4
GOGLE DRIVE ALL FILE CILK
หนังสือประกอบการติว : คณะรัฐศาสตร์ (3 สาขา) ปี 2565
🌟 มาแล้วน้องจ๋า หนังสือติวสิงห์สาสที่น้องอยากได้ ✨✨
✦ ━━━━━━━━━━━━━━━━━
✨ และแล้วเราก็ผ่านช่วงของการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการสิงห์สาสพาติวครั้งที่ 3 กันไปแล้วนะครับ น้อง ๆ ทุกคนเก่งกันมาก ๆ เลย พี่สิงห์ขอยินดีกับน้อง ๆ ทุกคนที่ได้สิทธิ์เข้าร่วมติวด้วยน้า 🥳 และขอเป็นกำลังใจให้กับน้อง ๆ ที่สมัครเข้ามาทุกคนเลยนะครับ อย่าพึ่งหมดหวังกันน๊า ปีหน้ามาใหม่นะครับ
และในวันนี้พี่สิงห์ก็มาพร้อมกับหนังสือติวโครงการสิงห์สาสพาติวครั้งที่ 3 ที่น้อง ๆ ทุกคนสามารถ Download ได้โดยแสกนผ่าน QR Code หรือกดที่ Link ด้านล้างนี้ 👇👇👇
หนังสือติวรัฐศาสตร์ >> คลิกเพื่อดาวน์โหลด
หนังสือติวสังคมศึกษา >> คลิกเพื่อดาวน์โหลด


แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
ทางเชื่อมโยงสู่เว็บไซต์รายวิชา
Link ไปที่ ส 30225 รัฐศาสตร์เบื้องต้น
Link ไปที่ ส 30227 การบริหารรัฐกิจ
Link ไปที่ ส 30229 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หนังสือประกอบการติว : คณะรัฐศาสตร์ (3 สาขา) ปี 2564
พี่ ๆ จากโครงการสิงห์สาสพาติว ครั้งที่ 2 ได้นำไฟล์หนังสือติวที่ได้ตั้งใจรวบรวมและจัดทำขึ้นเพื่อให้น้อง ๆ ได้ใช้ประกอบการติวในวันที่ 1 - 13 กันยายน 2564 นี้ ให้น้อง ๆ Download ไปอ่านล่วงหน้าได้เลย น้อง ๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมติวก็สามารถ Download ไปอ่านได้เช่นกันน้า 💫
หนังสือติวรัฐศาสตร์ >> คลิกเพื่อดาวน์โหลด
หนังสือติวสังคมศึกษา >> คลิกเพื่อดาวน์โหลด


สอนเฉพาะ ปี 2564
เอกสารประกอบการสอนสด ปีการศึกษา 2564
PowerPoint 365 ประกอบการสอน หัวข้อ เก็บ Point รัฐศาสตร์ (สามแขนงหลัก PS - PA - IR) คลิกเพื่อเปิดเอกสารออนไลน์
Onenote 365 ประกอบการสอน หัวข้อ เข้าใจในหลักรัฐศาสตร์ และ ปอกเปลือกการเมืองไทย (หน้าที่ 18 - 35) คลิกเพื่อเปิดเอกสารออนไลน์