คำอธิบายรายวิชา (สาระเพิ่มเติม) รายวิชาการบริหารรัฐกิจ รหัสวิชา ส30227 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 เวลา 80 ชั่วโมง จำนวน 2.0 หน่วยกิต
ศึกษา อภิปราย อธิบาย วิเคราะห์ เกี่ยวกับ ความหมายของการบริหาร ความหมายของการบริหารรัฐกิจ การบริหารรัฐกิจในลักษณะที่เป็นศาสตร์ และเป็นศิลป์ ความสำคัญของการบริหารรัฐกิจ บริหารรัฐกิจและบริหารธุรกิจ ความสัมพันธ์ของรัฐประศาสนศาสตร์และวิชาอื่น พาราไดม์ของวิชาบริหารรัฐกิจ สิ่งแวดล้อมของการบริหารรัฐกิจ นโยบายสาธารณะและการวางแผน องค์การและการจัดรูปแบบองค์การ การบริหารงานบุคคล การบริการคลังสาธารณะ เทคนิคการบริหาร และเทคนิคเชิงปริมาณกับการนำมาใช้บริหารรัฐกิจ รวมไปถึงการบริหารราชการแผ่นดินของราชอาณาจักรไทย การบริหารราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น การศึกษาการบริหารรัฐกิจในระดับท้องถิ่น และการศึกษาการบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และระดับโลก
ด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์ การสืบค้นข้อมูล กระบวนการกลุ่ม การอภิปราย กระบวนการทางสังคมและกระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ไขปัญหา กระบวนการ RCA กระบวนการเรียนรู้ ๕ ขั้นตอน (5 STEPs) มีการบูรณาการและประยุกต์ใช้ตามเนื้อหาในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น อาเซียน เศรษฐกิจพอเพียง ทักษะชีวิต กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ (Active Learning) และการบูรณาการตามพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 10
เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ หลักการทางทฤษฎีของวิชาการบริหารรัฐกิจ และเห็นคุณค่าการนำความรู้ในหลักวิชาการบริหารรัฐกิจไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคม มีทักษะในการดำเนินชีวิตที่ดี ตลอดจน นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามกรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ผลการเรียนรู้
สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของการบริหารรัฐกิจ บริหารรัฐกิจและบริหารธุรกิจ ความสัมพันธ์ของรัฐประศาสนศาสตร์และวิชาอื่น
มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการบริหาร การบริหารรัฐกิจ การบริหารงานบุคคล การบริการคลังสาธารณะ เทคนิคการบริหาร และเทคนิคเชิงปริมาณกับการนำมาใช้บริหารรัฐกิจ
มีความรู้และเข้าใจพาราไดม์ของวิชาบริหารรัฐกิจ สิ่งแวดล้อมของการบริหารรัฐกิจ นโยบายสาธารณะและการวางแผน องค์การและการจัดรูปแบบองค์การ
เห็นคุณค่าการนำความรู้ทางด้านบริหารรัฐกิจ ไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม
รวมจำนวนทั้งสิ้น 4 ผลการเรียนรู้